วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6 ที่พักแรม





ความเป็นมาของธุรกิจที่พักแรมสากล
ที่ พักแรมมีมาตั้งแต่ยุคอารยธรรมกรีกและโรมัน ที่พักโดยทั่วไปมีขนาดเล็กและกระจายอยู่ตามเส้นทางสำคัญ และอีกจำนวนหนึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากศาสนสถาน ใต่อมาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มีการติดต่อค้าขาย การผจญภัย และแสวงบุญ ทำให้ธุรกิจที่พักแรมเติบโตมากขึ้นในหลายแห่ง
โรงแรม ในศตวรรษที่ 18 รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว
กลุ่ม หรือเชนโรงแรมที่สำคัญได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriot, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridian เป็นต้น

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
1.ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
2.ความสะอาด สุขอนามัย อาหารเครื่องดื่ม
3.บริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย
4.ความเป็นส่วนตัว
5.ตกแต่งสถานที่สวยงาม
6.ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
1.โรงแรม หมายถึง สถานที่ที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง โดยมีค่าตอบแทน และคำว่าโรงแรมไม่รวมถึง
ก.สถานที่พักจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการชั่วคราว หรือเพื่อการกุศล การศึกษา โดยมิใช่เป็นการหาผลกำไร
ข.ที่พักอาศัยโดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือนขึ้นไป
ค.สถานที่พักอื่นใดที่กำหนดในกฎกระทรวง
1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
-ที่ตั้ง ที่มีผลต่อการเดินทางเข้าถึง
-ขนาด ถ้ามีห้องพักต่ำกว่า 100 ห้องถือเป็นโรงแรมขนาดเล็ก ทั้งนี้การระบุขนาดอาจต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพการประกอบธุรกิจในแต่ละประเทศ
-จุดประสงค์ของผู้มาพัก เช่นโรงแรมนักธุรกิจ โรงแรมเพื่อการพนัน หรือเพื่อการพักผ่อนตากอากาศ
-ราคา
-ระดับการบริการ แบบหรูหรา หรือแบบประหยัด
-การ จัดระดับมาตราฐานโดยใช้สัญลักษณ์ ที่รู้จักกันดีในสากลคือ ดาว 1-5 ดวง ในประเทศไทยมีการตรวจรับรองมาตราฐานโรงแรมขึ้นอยู่กับความสมัครใจ มูลนิธิพัฒนามาตราฐานและบุคลากรในอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
-ด้านความเป็นความเจ้าของและรูปแบบการบริการ แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่คือ
ก.โรงแรมอิสระ เจ้าของดำเนินการเอง มีขนาดเล็กและกลาง
ข.โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือ หรือเชน อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม ใช้ชื่อเดียวกัน ดำเนินการแบบเฟรนไชส์ และแบบว่าจ้างบริหารภายใต้สัญญารับจัดการ

2.ที่พักนักท่องเที่ยว
-บ้านพักเยาชน หรือโฮสเทล เพื่อสร้างมิตรภาพและสันติภาพในสังคมโลก มีหลักการและกฎระเบียบแบบเดียวกันทั่วโลก ราคาประหยัดแก่เยาชนและสุภาพชนทั่วไป
-ที่ พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด ส่วนใหญ่เป็นบ้านแบ่งให้เช่าพักในต่างประเทศ เจ้าของแบ่งให้แขกนอนและจัดอาหารเช้าไว้ให้ เป็นกันเองแบบครอบครัว
-ที่พักริมทางหลวง พวกโมเต็ล ขนาดเล็กราคาประหยัด ได้รับความนิยมมากในสหรัฐอเมริกา
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก หรือ ไทม์แชริ่ง ให้มีการหมุนเวียนเข้าพักในกลุ่มที่พักตากอากาศ ได้รับความนิยมมากในอเมริกา
-เกสต์เฮ้าส์ ที่พักขนาดเล็กราคาประหยัด อยู่ในย่านชุมชมหรือตามเมืองท่องเที่ยว ได้รับความนิยมมากในกรุงเทพ ถนนข้าวสาร
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ พักระยะยาวเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปี มีห้องครัวปรุงอาหารได้
-ที่พักกลางแจ้ง เป็นแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่นกางเต๊นท์ หรือเช่าจอดรถพ่วง ภายในมีที่นอนห้องน้ำ ครัว
-โฮมสเตย์ หรือ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท เป็นการพักร่วมกับเจ้าของบ้าน ได้สัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชนนั้น
แผนกงานในโรงแรม
-ส่วนหน้า ต้นรับ ลงทะเบียน ขนย้ายสัมภาระ
-ส่วนงานแม่บ้าน จัดเตรียมห้องพัก ทำความสะอาด ซักรีด ตกแต่งสถานที่
-ส่วนอาหารและเครื่องดื่ม ผลิต/ประกอบ/ปรุงอาหาร บริการเครื่องดื่ม การจัดเลี้ยง
-แผนกขายและการตลาด ควบคุมกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
-แผนกบัญชีและการเงิน ควบคุมการเงินของโรงแรม
-แผนกทรัพยากรมนุษย์ หรือ แผนกบุคคล




ประเภทห้องพัก
1.Single สำหรับนอนคนเดียว เตียงเดี่ยว
2.Twin เตียงคู่แฝด เดี่ยวสองเตียง
3.Double เตียงเดียวขนาดใหญ่ นอนได้2คน
4.Suite มีห้อง2ห้องขึ้นไป แยกเป็นสัดส่วน หรูหรา ราคาสูง

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง (Transportation)

การคมนาคมขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายต้ารคาที่ตกลงกันไว้

พัฒนาการขนส่งทางบก
เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปีก่อนคริสตกาล หรือยุคบาบิลอน (Babylon) ซึ่ง ใช้คนลากรถสองรถ ก่อนที่จะนำสัตว์มาลากในยุคอียิปต์และกรีก จนกระทั่งในยุคโรมัน ได้มีการพัฒนาเป็นรถสี่ล้อที่ใช้ม้าลาก ต่อมาในปี 1480 ได้ประดิษฐ์รถม้าโดยสารขึ้นในประเทศอังกฤษ และในปี 1825ได้ประดิษฐ์รถไฟไอน้ำขบวนแรกในประเทศอังกฤษ ส่วนรถยนต์ได้ประดิษฐ์และคิดค้นขึ้นในปี 1920 ปัจจุบันการเดินทางโดยรถยนต์ถือได้ว่าเป็นการเดินทางท่องเที่ยวทางบกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก


พัฒนาการขนส่งทางน้ำ

การ ขนส่งทางน้ำถือได้ว่า เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุด โดยมีการพัฒนาแพขึ้นจากท่อนไม้ ต่อมาเป็นเรือ การขนส่งผู้โดยสารทางเรือเริ่มขึ้นในปี 1772 ในประเทศอังกฤษระหว่างเมือง Manchester กับ London Bridge ในปี 1815 มีการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญอังกฤษชื่อ ซีลอน ของบริษัท Peninsula Oriental Steam วิ่งในเส้นทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมมืองท่าในอิตาลี กรีซ อียิปต์ และอาฟริกาตะวันตก และในปี 1819 มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรก คือ เรือกลไฟ ที่แล่นระหว่างเมือง Savannah รัฐจอร์เจียกับเมือง Liverpool ประเทศอังกฤษ


พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
เครื่องบินได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นในปี 1903 โดยสอลพี่น้องตระกูล Wright และพัฒนาไปเรื่อยๆเห็นได้จากได้ผลิตเครื่องบินออกมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เที่ยวบินทางด้านธุรกิจได้เกินขึ้นครั้งแรกในปี 1919 ระหว่าง London และ Paris จนกระทั่งในปี 1927 ได้เกิดเที่ยวบินในการขนส่งผู้โดยสารเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยบินระหว่าง Boston กับ New York ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินได้ถูกดัดแปลงเป็นพาหนะของทหาร
ในประเทศไทยได้เริ่มกิจการขนส่งทางอากาศขึ้นในปี พ.ศ. 2462 ระหว่างกรุงเทพ กับ จันทบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2473 ได้จัดตั้งบริษัทเดินอากาศจำกัด โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่


ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

1. ธุรกิจการขนส่งทางบก

จัด ได้ว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเฉพาะการเดินทางด้วยรถยนต์ นอกจากนี้แล้วยังมีการเดินทางโดยรถไฟที่ได้รับความนิยมพอสมควร

1.1 การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ

1.2 การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล รถยนต์คันแรกสร้างขึ้นที่ประเทศเยอรมันนี ปี 1885 โดยบริษัท เดมเลอร์-เบนซ์

1.3 การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า

1.4 รถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารไม่ประจำทาง

2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็น หลายประเภท ดังนี้

2.1 เรือเดินทะเล

2.2 เรือสำราญ

2.3 เรือข้ามฟาก

2.4 เรือใบและเรือยอร์ช

2.5 เรือบรรทุกสินค้า

3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ คิอ

3.1 การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ แบ่งออกเป็น ภายในประเทศ และภายนอกประเทศ

3.2 การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ

3.3 การบินลักษณะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

แหล่ง ท่องเที่ยว จัดเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ เป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ มีคำจำกัดความ 3 คำ ที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยุ่ในรูปธรรมและนามธรรม

2. จุดหมายปลายทาง (Destination) หมายถึง สถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจเป็นสถานที่ทั่วไป หรืออาจเป็นหลายๆสถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง

3. สิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยว (Tourist Attraction) หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ

* ·ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว

1. ขอบเขต ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก และ จุดมุ่งหมายรอง

2. ความเป็นเจ้าของ ได้แก่ รัฐบาล เอกชน และองค์กรไม่หวังผลกำไล

3. ความคงทนถาวร ระยะเวลาของกิจกรรมการท่องเที่ยว อทิ เทศกาลสงกรานต์ 12-14 เมษายนเท่านั้น

4. ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันน

* ·แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
หมาย ถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสถานภาพธรรมชาติในบางส่วน


* แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
หมายถึง สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้นกรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่



1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ

2. อนุสาวรีย์แห่งชาติ

3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ

4. ย่านประวัติศาสตร์

5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ

6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ

7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

* แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
อาทิ งานประเพณีต่างๆ วิถีชีวิตของชุมชนชาวเขา ห้างสรรพสินค้า บริเวณเมืองที่มีความทันสมัย

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา (Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ทั้งหมดของวัฒนธรรมและพลังงานทางด้านชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของการท่องเที่ยว

ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs) ของ Maslow :
กล่าว ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบ สนองความต้องการ และความต้องการทางด้านสรีรวิทยา เช่น ความต้องการ

ทฤษฎีขั้นบันใดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder) ของ Philip Pearce : ประยุกต์มาจากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ที่ในลำดับขั้นที่ 1-4 เกิดขึ้นได้ทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self-directed) ส่วนหนึ่ง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other-directed) ยกเว้นความต้องการสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด (Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง

แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton มี 7 ประเภทดังต่อไปนี้

1. การหลีกหนีจากสิ่งแวดล้อมที่จำเจ

2. การสำรวจและการประเมินตนเอง

3. การพักผ่อน

4. ความต้องการเกียรติภูมิ

5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม

6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ (Swarbrooke)

แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

Pearce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้

1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม

2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะคนในท้องถิ่น

3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน

4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว

5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย

6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ

7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี

8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย

9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม

10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมาย ถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่

1. ระบบไฟฟ้า

2. ระบบประปา

3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

4. ระบบการขนส่ง

4.1 ระบบการเดินทางทางอากาศ

4.2 ระบบการเดินทางทางบก

4.3 ระบบการเดินทางทางน้ำ

5. ระบบสาธารณสุข
ระบบ เหล่านี้ควรจะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการ ทันสมัย สะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
ปัจจัย ทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้ นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่

1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการ ท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ ได้แก่

1.1 ลักษณะ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ตามส่วนต่างๆของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกมีได้ 2 ลักษณะคือ

1. การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขาหรือภูเขาไฟ

2. การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย

1.2 ลักษณะทางภูมิอากาศ พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกัน อากาศก็จะไม่เหมื่อนกัน

2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
แต่ละชาติมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การที่วัฒนธรรมแตกต่างกันส่งผลให้กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจและส่งเสริมให้กับคน ต่างวัฒนธรรมเข้ามาเที่ยวชมความแตกต่าง

395 ปีบันทึกของปินโต

บันทึกความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต ( Fernao Mendez Pinto ค.ศ.1509-1583) เรื่อง Peregrinacao ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประเพณี ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และเหตุการณ์บ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ จนมีการใช้ชื่อของปินโตเล่นคำเชิงล้อเลียนว่าพูดจริงหรือเท็จอย่างสนุกสนาน โดยชนชาติศัตรูของโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษา พระองค์ชาวโปรตุเกส และการพระราชทานที่ดินให้พวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา จึงเป็นที่มาของนิยายผจญภัย

ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอมูร์เก่า เกิด ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ครอบครัวมีฐานะยากจน ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา (Cue de Pedra) การผจญภัยของปินโตเริ่มขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว (Diu)ขณะมีอายุได้ 28 ปี เขาเดินทางกลับมาตุภูมิเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ (Tataria) โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง (กรมวิชาการ, 2531 : 115) ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราชก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (ค.ศ.1534-1546) ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง และ ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองปรากัลป์ (Pragal) ทางใต้ของโปรตุเกส โดยเขียนหนังสือชื่อ peregrinacaoขึ้น และถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583 และได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ "การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ1537-1558" แปลโดยสันต์ ท. โกมลบุตร

การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมาย เพื่อ ให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาระบุว่าอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้าไม่ได้หวังชื่อเสียง สิ่งที่ผลักดันให้เขาเดินทางไปยังตะวันออก คือ ธรรมชาติของลูกผู้ชาย เขาแสดงความขอบคุณพระเจ้าและสวรรค์ที่ช่วยให้รอดพ้นจากภยันตรายมาได้บันทึก ของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่า “ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็ได้รับคำมั่น สัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์ ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาตให้สร้างโบสถ์ เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....” งานเขียนปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคล (Campos,1940,P.21) ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความแม่นยำของเวลา (Timing) จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่าบันทึกของปินโตเป็นนิยาย ผจญภัยมากกว่าการเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์ เนื่องจากเขาได้บอกถึงประวัติ การเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ รวมถึงการไปพบเจอสิ่งต่างๆที่ได้เกิดขึ้นกับตัวเขาเองด้วยจึงเป็นข้อสรุปตาม ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยกรีก

• กิจกรรมการท่องเที่ยว คือ การซื้อของ การกิน การดื่ม การเล่นการพนัน การดูกีฬา การชมการแสดง

• มีการเดินทางไปชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค

• การเดินทางเพื่อการทำงานและพักผ่อนท่องเที่ยว

• การเดินทางหลักคือใช้แม่น้ำไนล์


ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยโรมัน

• การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุด

• การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน หาความสำราญ

• นิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก เช่น อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล

• โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns ) ร้านอาหาร


ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวสมัยยุคกลางหรือยุคมืด

เป็นยุคที่ถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรม เศรษฐกิจกิจตกต่ำ แต่ศาสนาจักรโรมันคาทอลิคยังเป็นศูนย์รวมของสังคม การเดินทางมีความยากลำบาก และอันตรายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเดินทางในระยะสั้นๆไม่ไกลจากบ้านนัก เริ่มมีวันหยุดโดยทางศาสนาเป็นผู้กำหนดวันเวลาที่หยุดพักผ่อน ให้กับผู้ที่ศรัทธาในศาสนา

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 18

มีการพัฒนารถม้า4ล้อที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริง ในศตวรรษที่18มีระบบทางด่วน ที่จะต้องจ่ายค่าผ่านทาง คศ.1815 ถนนมีการพัฒนาดีขึ้น หลุมบ่อลดน้อยลงมีการนำยางมะตอยมาใช้

ในศตวรรษที่ 18 มีระบบทางด่วนที่ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าผ่านทาง ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงระบบกันสะเทือนที่เป็นโลหะให้สบายมากขึ้น รถม้าเทียมมีส่วนช่วยในการพัฒนา การเดินทางในอาณานิคมของทวีปอเมริกาเหนือด้วย วิ่งระหว่างบอสตันและนิวยอร์คในปี ค.ศ. 1780


การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทที่อาบน้ำแร่ (Spa)

• เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลาย ชาวโรมันก็ยุติการเดินทางไปยังชายหาดที่มีชื่อเสียงคือ วิเวียร่า (Riviara) อ่าวเนเปิ้ล รวมทั้งการไปอาบน้ำแร่ (Spa)

• ยุคกลาง แหล่งอาบน้ำแร่ของชาวโรมันได้กลายเป็นน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาก็กลายเป็นที่อาบน้ำเพื่อสุขภาพจึงถือกำเนิดขึ้นมา

• ประมาณ ปี ค.ศ. 1900 มีสถานที่อาบน้ำแร่ในยุโรปถึง 750 แห่ง ส่วนมากอยู่ในบริเวณสถานที่พักผ่อนทางธรรมชาติ (Resort) หรือแหล่งรวมการบันเทิงต่าง ๆ ปัจจุบันนี้แหล่งอาบน้ำดังกล่าวได้เสื่อมความนิยมจากนักท่องเที่ยวลงไปมาก

กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล

• ครั้งต่อมาประชาชนทั่วไปก็ติดตามมา พวกชนชั้นสูงก็แสวงหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ดังเช่น ในปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา

• ชายทะเลที่สวยงามหลายแห่งได้ถูกค้นพบและกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเช่น Scarborough Margate และ Brighton ในประเทศอังกฤษ พวกนักท่องเที่ยวที่มีฐานะร่ำรวยได้เข้าไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวเหล่านี้ยังได้เป็นผู้สร้างวิลล่า(Villa) หรือสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่หรูหราสวยงามไว้ที่เมือง คานนส์(Cannes) และเมืองนิช (Nice) ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย


การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 (1901-2000)

ช่วง 50 ปีแรก สถานที่ตากอากาศในริเวียร่าของฝรั่งเศสเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องที่ยวฐานะดี ทศวรรษที่ 1920 เกิด การเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อรูปแบบการเดินทางเปลี่ยนไปผู้คนนิยมหันมาใช้รถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน นำรถบรรทุกที่ขนสัมภาระในสงครามทำเป็นรถโค้ช ซึ่งได้รับความนิยมมากในช่วง 1920 และต่อมาบริษัท Henry Ford ในอเมริกา ผลิตรถยนต์รุ่น Model T ในราคาที่ใครก็เป็นเจ้าของได้ เป็นครั้งแรก ทำให้การเดินทางโดยรถไฟลดน้อยลง และการบินเพื่อการพาณิชย์ได้เริ่มเป็นครั้งแรกในปี 1919 ในทวีปยุโรป สายการบินของอเมริกา Pan American Airways เริ่มบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นครั้งแรกในปี 1930 โดยในระยะแรกเพื่อการขนส่งจดหมายและไปรษณีย์ภัณฑ์ จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พัฒนามากถึงขนส่งผู้โดยสารได้


การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

หลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนเริ่มออกเดินทางเพื่อชมสถานที่สำคัญทางสงคราม เดินทางด้วยรถยนต์ เพราะมีการปรับปรุงถนนหนทาง การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง ริเริ่มใช้เครื่องบินในการเดินทาง ซึ่งเริ่มประดิษฐ์เพื่อการขนส่ง ในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 หลังจากนั้นจึงใช้เครื่องบินในการโดยสาร

บทที่ 1 ความหมาย ความสำคัญของการท่องเที่ยว

การเดินทางในลักษณะที่เป็นการเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขสากล(WTO) 3 อย่าง

1.เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว
2.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ
3.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม ที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือหารายได้
และในที่ประชุมได้ให้ความหมายของผู้เดินทางว่า ผู้เยี่ยมเยือน ซึ่งแบ่งเป็น

*นักท่องเที่ยว กลุ่มของนักท่องเที่ยวได้แก่ ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักในที่ๆไปเยือน,ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นแต่ไม่ได้ อาศัย,ผู้ที่เป็นลูกเรือ และพักในสถานที่นั้นนานกว่า 24 ชั่วโมง
*นักทัศนาจร ได้แก่ ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร,ผู้ที่มาเยือนและจากไปภายในวัน เดียว,ผู้ที่เป็นลูกเรือและพักในสถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งแบ่งผู้มาเยือนตามถิ่นพำนักได้อีกเช่นกัน ได้แก่
-ผู้มาเยือนขาเข้า
-ผู้มาเยือนขาออก
-ผู้มาเยือนภายในประเทศ



วัตถุประสงค์ของการเดินทางท่องเที่ยว


1.เพื่อความเพลิดเพลิน พักผ่อน ซึ่งรวมไปถึงการเยี่ยมญาติมิตร อาทิเช่น การไปอาบแดดชายทะเล ไปสวนสนุก
2.เพื่อธุรกิจ ควบคู่ไปกับการทำงานแต่ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ รวมไปถึงการสัมมนา อาทิ การสำรวจตลาด
3.เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ อาทิ การเดินทางศึกษาธรรมชาติ เผยแพร่ศาสนา รักษาโรคภัยไข้เจ็บ แข่งกีฬา

++ประเภทการท่องเที่ยว แบ่งตามสากลได้3 วิธี++
1.ท่องเที่ยวภายในประเทศ ผู้ที่อาศัยในประทเศนั้นและเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของตนเอง
2.ท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ ผู้ที่อาศัยอยู่ที่อื่นแล้วเดินทางเข้ามาเที่ยวภายในประเทศนั้นๆ
3.ท่องเที่ยวนอกประเทศ ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่งแล้วเดินทางออกไปยังต่างประเทศ



~~การแบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง~~

1.การท่องเที่ยวแบบหมู่คณะ แบ่งออกเป็น
-กรุ๊ปเหมา คือ การท่องเที่ยวของคณะที่มีความสัมพันธ์กัน
-กรุ๊ปจัด คือ การที่นักท่องเที่ยวไม่มีคสามสัมพันธ์กันทั้งส่วนตัวและการงาน เช่นการซื้อโปรแกรมทัวร์ เป็นต้น
2.การท่องเที่ยวแบบอิสระ นักท่องเที่ยวจะวางแผนการเดินทางเอง เดินทางโดยลำพัง หรือใช้บริการไกด์นำเที่ยวก็ได้ เช่นการไปเที่ยวเป็นครอบครัว



~~การแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการเดินทาง~~

1.ท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อน มีรูปแบบเรียบง่าย อาทิ การเล่นน้ำทะเล นั่งรถชมเมือง ซื้อของ
2.ท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ เป็นกิจกรรมทางธุรกิจทั่วไป
3.ท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ แบ่งออกเป็น5กลุ่มใหญ่ๆ
* เชิงนิเวศ เช่นการดูนก ประการัง
* เชิงสุขภาพและกีฬา เช่น การปีนเขา อาบน้ำแร่
* เชิงศิลปวัฒนธรรม เช่น การชมการแสดงรำไทย เที่ยวแหล่งโบราณสถาน
* เพื่อสัมผัสชาติพันธุ์และวัฒนธรรมพื้นถิ่น เช่น โฮมสเตย์
* เพื่อการศึกษา เช่น เรียนทำอาหาร มวยไทย



องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ

1.ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2.ที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว จึงหมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ การวางแผน การตลาด แต่คำว่าสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะเรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่เคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ



องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว

1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง บก น้ำ อากาศ
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหาร
5.ธุจกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์



องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว

1.การจำหน่ายของที่ระลึก
2.การจัดประชุม สัมมนา
3.การบริการข่าวสารข้อมูล
4.การอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกด้านการเข้าเมือง



ความสำคัญของการท่องเที่ยว


__ด้านเศรษฐกิจ__

1.สร้างรายได้เงินตราเข้าประเทศ เป็นจำนวนมาก
2.การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น
3.การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการนำเอาทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า
4.การท่องเที่ยวช่วยลดปัญหาการว่างงาน

__ด้านสังคมและวัฒนธรรม__

1.ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีงามของมวลมนุษยชาติ
2.มีส่วนในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
3.มีส่วนช่วยในการลดปัญหาสังคม เนื่องจากคนมีรายได้จากการทำงาน
4.ช่วยฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม สร้างความภูมิใจของศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
5.ทำให้คนในสังคมรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่นนำผลิตผลในท้องถิ่นมาขายเป็นสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก


__ด้านการเมือง__

1.ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัย และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ