แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา (Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ทั้งหมดของวัฒนธรรมและพลังงานทางด้านชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของการท่องเที่ยว
ทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs) ของ Maslow :
กล่าว ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการและมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อตอบ สนองความต้องการ และความต้องการทางด้านสรีรวิทยา เช่น ความต้องการ
ทฤษฎีขั้นบันใดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder) ของ Philip Pearce : ประยุกต์มาจากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow แต่ความแตกต่างอยู่ที่ในลำดับขั้นที่ 1-4 เกิดขึ้นได้ทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self-directed) ส่วนหนึ่ง และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other-directed) ยกเว้นความต้องการสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด (Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton มี 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1. การหลีกหนีจากสิ่งแวดล้อมที่จำเจ
2. การสำรวจและการประเมินตนเอง
3. การพักผ่อน
4. ความต้องการเกียรติภูมิ
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ (Swarbrooke)
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
Pearce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
หมาย ถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี โครงสร้างพื้นฐานหลักๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1. ระบบไฟฟ้า
2. ระบบประปา
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
4. ระบบการขนส่ง
4.1 ระบบการเดินทางทางอากาศ
4.2 ระบบการเดินทางทางบก
4.3 ระบบการเดินทางทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข
ระบบ เหล่านี้ควรจะต้องมีใช้อย่างพอเพียง ทั่วถึง และใช้การได้ดี ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการ ทันสมัย สะดวกสบาย รวดเร็ว และปลอดภัย
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
ปัจจัย ทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้ นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทางออกจากแหล่งที่ตนเองอาศัยอยู่
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการ ท่องเที่ยวได้เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ ได้แก่
1.1 ลักษณะ ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ตามส่วนต่างๆของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกมีได้ 2 ลักษณะคือ
1. การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขาหรือภูเขาไฟ
2. การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย
1.2 ลักษณะทางภูมิอากาศ พื้นที่ที่ตั้งอยู่แตกต่างกัน อากาศก็จะไม่เหมื่อนกัน
2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
แต่ละชาติมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การที่วัฒนธรรมแตกต่างกันส่งผลให้กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจและส่งเสริมให้กับคน ต่างวัฒนธรรมเข้ามาเที่ยวชมความแตกต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น